บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เครื่องเบญจรงค์เป็นงานศิลปะ
เป็นงานศิลปวัฒนธรรมของไทยที่มีมาแต่เดิม
เครื่องเบญจรงค์นั้นมีความประณีตและละเอียดอ่อนพร้อมทั้งการเขียนลวดลายที่มีความสามารถสละสลวยงดงาม
ด้วยเหตุนี้เครื่องเบญจรงค์เป็นศิลปะล้ำค่าของความเป็นไทยที่สืบเนื่องกันเป็นเวลานาน
ผลิตเครื่องเบญจรงค์ที่มีความละเอียดละออและด้วยลวดลายที่มีความหลากหลาย
กลุ่มของพวกเราจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาประวัติความเป็นมา
ความสำคัญและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเบญจรงค์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาแหล่งที่มาและความสำคัญของเครื่องเบญจรงค์
2.เพื่อสืบสานการทำเครื่องเบญจรงค์เอาไว้คงอยู่คู่กับคนไทยและได้มีการพัฒนามากขึ้นไปอีก
สมมติฐาน
1.ผลจากการที่ได้ไปสถานที่ผลิตเครื่องเบญจรงค์
กลุ่มผู้ผลิตให้ความร่วมมือและแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตเครื่องเบญจรงค์เป็นอย่างมาก
2.หลังจากการที่พวกเราได้ไปศึกษาเกี่ยวกับการผลิตเครื่องเบญจรงค์
พวกเราสามารถเก็บเกี่ยวความรู้และนำมาเผยแพร่ต่อให้กับเยาวชนที่สนใจได้เป็นอย่างดี
ตัวแปรต้นที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรต้น
ได้แก่ ความรู้ ความสำคัญเกี่ยวกับเครื่องเบญจรงค์
ตัวแปรตามในการวิจัย
ตัวแปรตาม
ได้แก่ ข้อ
1.ผลการเรียนรู้เรื่องเครื่องเบญจรงค์
2.สืบสานให้อยู่คู่กับคนไทยตลอดไป
นิยามศัพท์เฉพาะ
เครื่องเบญจรงค์
คือ เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ เขียนด้วยลายที่ลงด้วยสี คือ สีขาว สีเหลือง สีแดง
สีดำและสีเขียว
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ตระหนักและรู้คุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม
2.มีความรู้ความเข้าใจของศิลปวัฒนธรรมไทย
3.เพื่อเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยต่อไป
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประวัติเครื่องเบญจรงค์
การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงา นด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที ่มีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นงานของช่างฝีมือที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น
เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดง
ถึงลักษณะเฉพาะของไทย ในปัจจุบันมีการทำกันในหลายพื้นที่ทั่ว ทุกภาคของประเทศไทย
และสามารถใช้ได้กับบุคคลทั่วไป
เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่มีการลงสีที่พื้นและลวดลาย เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภท
เซรามิคส์ (Ceramics) ใช้เนื้อดิน ประเภทพอร์ซเลน (Porcelain ware)
โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เขียนลายด้วยวิธีลงยา หรือสีผสมเคลือบ (Enamel) เป็นง
านที่มีต้น กำเนิดในประเทศจีน ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ในรัชสมัยพระเจ้าซวนเต๊อะ (พ.ศ. 1969-1978) สมัยราชวงศ์หมิง มีการผลิตครั้งแรก ในแคว้นกังไซ มณฑลเจียงซี
(หรือที่คนไทยเรียกว่า กังไส)
และพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยพระเจ้าเฉิงฮั่ว (พ.ศ. 2008-2030) การเขียนลายตามแบบของจีนจะใช้ตั้งแต่ 3 สีขึ้นไป
มีชื่อเรียกในภาษาจีนต่างๆกัน
เช่น อู๋ไฉ่ โต้วไฉ่
เฝินไฉ่ และฝาหลั่งไฉ่ ส่วนที่เป็นของไทยนั้น จะนิยมลง
5 สีด้วยกัน คือ
ขาว เหลือง ดำ
แดง เขียว (คราม) จึงเรียกว่า
เครื่องเบญจรงค์ หรือ 5 สี
โดยทั้ง 5
สีนี้จัดได้ว่าเป็นแม่สีเครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทย และในบางครั้งอาจมีการใช้สีมากกว่า 5 สีด้วย เช่น
ชมพู ม่วง แสด
และน้ำตาล ในอดีตใช้การสั่งทำ
ที่ประเทศจีนตามความคิดและลวดลายของไทย
การสั่งทำนั้นจะมีช่างของไทยเดินทางไปควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้รูปลักษณะที่เป็นแบบไทย เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคที่
3 ช่วงประมาณรัชสมัย พระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2173-2198) และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ. 2199-2231) ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย โดยเฉพาะใน สมัยพระเจ้าวั่นลี่ และต่อเนื่องจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง การสั่งทำจากประเทศจีนในสมัยนั้นได้สั่งทำเป็นโถปริก และโถฝาขนาดกลาง เขียน เป็นลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม
ลายนรสิงห์
และยังมีที่เป็นลวดลายของจีน
เช่น ลายเทพนมจีน (เทวดาท้องพลุ้ย) มีพื้นสี ต่างๆ เช่น
เหลือง ชมพู ม่วงอ่อน
เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยมีทั้งสั่งทำที่เมืองจิงเต๋อเจิ้น และจากเตาเผาที่มณฑลฝูเจี้ยนและ กวางตุ้ง
เครื่องเบญจรงค์ที่สั่งทำจากเมืองจิงเต๋อเจิ้น มักเป็นของใช้ในราชสำนักเพราะเนื้อดินปั้นละเอียด แกร่ง
และช่างมี ฝีมือดี
เขียนลายได้ละเอียดสวยงาม ส่วนเครื่องถ้วยลายน้ำทอง
จะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลายด้วยวิธีลงยาเช่น
เดียวกันกับเครื่องเบญจรงค์
แต่จะใช้สีทองที่ทำจากทองคำ
ในอดีตเริ่มต้นมาจากการสั่งทำจากประ เทศจีนเช่นเดียวกัน โดยลายน้ำทองนี้ นิยมในประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ชิง ใน
รัชสมัยของพระเจ้า คังซี (พ.ศ. 2205-2266) และพระเจ้าหย่งเจิ้น (พ.ศ. 2266-2279) ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชจนถึงรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ
ซึ่งในสมัยนี้มีการสั่งทำเครื่องถ้วยลายน้ำทอง จากประเทศญี่ปุ่นด้วย เครื่องถ้วยลายน้ำทองได้รับความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วิธีการทำเครื่องเบญจรงค์
กรรมวิธีการผลิต
หรือการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์
มีความสำคัญอย่างยิ่ง
ผู้ผลิตต้องมี ความชำนาญ
มีความรู้ความสามารถ
เข้าใจในเทคนิคต่างๆ
อย่างเพียงพอ
ในการผลิตเครื่องเบญจรงค์ แต่ละชนิด
รวมไปถึงอุปกรณ์
และเครื่องมือต่างๆ
ที่ช่วยในการผลิต กระบวนการผลิตจนได้เครื่องเบญจรงค์มีสองงขั้นตอนหลักๆคือการผลิตเซรามิคของขาว หรือเครื่องขาว และกระบวนการเขียนลายเครื่องเบญจรงค์
เครื่องขาว หรือของขาว
ที่นำมาผลิตเป็นเครื่องเบญจรงค์
เครื่องขาว หรือของขาว จะเป็นภาชนะรูปทรงต่างๆ มีสี ขาว
อาทิเช่น โถประดับ จาน
ชาม แก้วน้ำ หม้อ ข้าว
ขันข้าว แจกัน ชุดน้ำชา
และกาแฟ เป็นต้น ลักษณะการเคลือบของของขาวนั้นมี 2
ลักษณะ คือ เคลือบ เงา
และเคลือบด้าน
ซึ่งเมื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องเบญจรงค์แล้ว
จะให้ความสวยงามที่แตก ต่างกันไป
เครื่องขาว หรือของขาวนี้ สามารถซื้อได้จากโรงงานในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี ราคารับซื้อขึ้นอยู่กับแบบ และขนาดของเครื่องขาวที่ใช้
วัตถุดิบ
และเนื้อดินที่ใช้ในการผลิตเครื่องขาวเพื่อทำเครื่องเบญจรงค์ ; วัตถุดิบมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิต ในการตอบสนองให้งานที่ผลิตขึ้นเป็น
ไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและเป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิต รวมทั้งมีประสิทธิภาพสูง ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ในเรื่องของวัตถุดิบที่นำมาใช้งาน ก่อให้ เกิดการพัฒนากรรมวิธีการผลิต การออกแบบ
และการสร้างผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ขึ้นได้
วัตถุดิบที่นำมา ใช้ทำเครื่องเบญจรงค์
จะประกอบด้วยวัตถุดิบที่มีความเหนียว
วัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียว
และวัตถุดิบอื่นๆ มีดังนี้
1.วัตถุดิบที่มีความเหนียว วัตถุดิบประเภทนี้ได้แก่ดิน ชนิดต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่ที่เหมาะแก่การนำมาผลิตเครื่องปั้นและเครื่องเบญจรงค์ ได้แก่
ดินเกาลิน (kaolin หรือ China
Clay) ดินชนิดนี้บางแห่ง เรียกว่า
ดินขาว เกิดจากจากการแปรสภาพของ
หินแกรนิตเป็นหินฟันม้า มีความบริสุทธิ์สูง เนื้อดินหยาบ
สีขาวหม่น มีความเหนียว น้อย หดตัวน้อย
ทนความร้อนได้สูง ระหว่าง 1,400-1,500
องศาเซลเซียส
ดินเหนียว (Ball
clay) ดินชนิดนี้บางแห่งเรียกว่า
ดินดำ เป็นดินที่เกิดจากการ ชะล้างดินเกาลิน โดยธรรมชาติ มีแร่เหล็กปนอยู่ค่อนข้างสูง กับมีสารอินทรีย์ปนอยู่บ้าง เนื้อดินละเอียด สีคล้ำ มีควา ม เหนียว
จุดหลอมละลายระหว่าง
1,300-1,400 องศาเซลเซียส เมื่อเผาสุกแล้วผลิตภัณฑ์จะมีสีขา
วหม่นหรือสีเนื้อ
เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นประเภทเนื้อดิน
และเนื้อแกร่ง
หรือใช้ผสมกับดินเกาลินใ ห้เนื้อดินแข็งและเหนียวขึ้น เพื่อใช้ทำเครื่องปั้นประเภทเครื่องกระเบื้อง
ดินขาวเหนียว (Plastic
clay) เกิดจากการผุกร่อนของหิน เนื้อดิน ละเอียด สีเนื้อ
หรือสีเทา มีความเหนียว มักใช้ผสมกับดินชนิดอื่น เพื่อให้ขึ้นรูปทรงได้ง่าย
ดินแดง
(Red clay หรือ Surface clay) เป็นดินที่มีความเหนียวมาก มีเหล็ก และแอลคาไล (alkali) ผสมอยู่ในเนื้อดินค่อนข้างสูง เนื้อดินสีเทาแก่ สีน้ำตาลแก่
สีน้ำ ตาลอ่อน มักนำไปทำกระเบื้อง มุงหลังคา
โอ่ง ไห ครก
หม้อดิน กระถางต้นไม้ เป็นต้น
เมื่อ นำไปทำผลิตภัณฑ์อาจต้องผสมทรายเพื่อป้องกันการแตกตัว
ดินสีเทา หรือดินสโตนแวร์ (Stoneware clay) เป็นดินที่มีความ
เหนียว เนื้อดินเป็นสีเทาอ่อน สีเทาแก่
หรือสีน้ำตาลเข้ม
เมื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์ สามารถ
ขึ้นรูปได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นรูป โดยใช้แป้นหมุน ทนความร้อนสูง ระหว่าง 1,200-1,500
องศาเซลเซียส
ดินชนิดนี้ส่วนใหญ่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ประเภทเคลือบไฟแรงสูง
ดินทนไฟ (Fire clay) เป็นดินเนื้อค่อนข้างหยาบ มีซิลิกา
และอะลูมินาผสมอยู่มาก ดินมีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา
หรือสีคล้ำ มีความเหนียวมาก ทนความร้อนสูงถึง 1,500
องศาเซลเซียส โดยไม่เปลี่ยนสภาพ ส่วนใหญ่จึงนำไปใช้ทำวัสดุทนไฟ เช่น
ทุ่นทนไฟสำหรับวัดอุณหภูมิในเตาเผา
อิฐทนไฟ ชิ้นส่วนของเตาเผา เป็นต้น
2.วัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียว เป็นวัตถุที่นำมาใช้ผสมลงไปในเนื้อดินที่นำมาปั้นผลิตภัณฑ์
หรือใช้เป็นส่วนผสมของน้ำเคลือบ ซึ่งได้แก่ หินประเภทต่างๆ
หินที่นำมาใช้งานดังกล่าว ได้แก่
หินฟันม้า (Flespar) เกิดจากการแปรสภาพของหินแกรนิต
เป็นหินแข็ง ทึบแสง มีสีขาว สีชมพู มีความแตกต่างกันแยกได้หลายชนิด
มักนำมาใช้ผสมในเนื้อดินเพื่อปั้นผลิตภัณฑ์ หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำเคลือบ
หินเขี้ยวหนุมาน (Quartz) เป็นผลึกของซิลิกา
มีความแข็งย่อยสลายมาก มีความบริสุทธิ์สูง
เมื่อนำมาบดละเอียดหรือเผาใช้ผสมในเนื้อดินเพื่อปั้นผลิตภัณฑ์จะทำให้เนื้อดินลดการหดตัวทนไฟสูง
ทำให้ผลิตภัณฑ์โปร่งใส ทั้งยังใช้ผสมในน้ำเคลือบ ทำให้เคลือบเป็นมัน
ทนการกัดกร่อนได้ดี
หินไฟโรฟิลไลท์ (Pyrophylite) เป็นหินไม่แข็งมากนัก
มีสีเทา สีเทาปนแดง เมื่อนำไปผสมในเนื้อดินปั้นผลิตภัณฑ์ทำให้มีความทนไฟสูง
และลดการบิดเบี้ยวของตัวผลิตภัณฑ์ได้ดี ทั้งยังใช้ผสมในน้ำเคลือบเพื่อเพิ่มความหนืด
และความทนไฟด้วย ทราย (Sand) ทรายส่วนมากประกอบไปด้วยแร่ซิลิกา
เมื่อนำไปผสมในเนื้อดินปั้นผลิตภัณฑ์
จะทำให้เพิ่มความแข็งแรงแก่ตัวผลิตภัณฑ์ยิ่งขึ้น
3.วัตถุดิบอื่น ในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้น
ยังได้ใช้วัตถุดิบอื่นผสมลงในเนื้อดินปั้นหรือน้ำเคลือบ
เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ใช้งานของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
วัตถุดิบดังกล่าวมีดังนี้
เถ้ากระดูก (Bone Ash) ได้จากการเผากระดูก
มีส่วนผสมของแคลเซียมฟอสเฟต และแคลเซียมคาร์บอเนต
นำไปผสมในเนื้อดินปั้นเป็นตัวช่วยในการหลอมละลาย ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโปร่งแสง
ทัลค์ (Talc) เมื่อนำไปผสมในเนื้อดินปั้นผลิตภัณฑ์
จะทำให้เนื้อดินลดความเหนียวลง มีผลให้ขึ้นรูปยาก แต่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ทนไฟสูง
ทนต่อด่าง เพิ่มความต้านทานกระแสไฟฟ้าได้ดี จึงมักใช้ผสมในเนื้อดิน
เพื่อทำลูกถ้วยไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ฉนวนไฟฟ้า กระเบื้องเคลือบห้องน้ำ เป็นต้น
เซอร์คอน (Zircon) มีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงระหว่าง
1,500-1,800 องศาเซลเซียส จึงมักใช้ผสมในเนื้อดินเพื่อใช้ทำวัตถุทนไฟ
ทำหรือผสมในน้ำเคลือบทำให้เป็นเคลือบสีขาวทึบแสง
สารประกอบอะลูมินา (Alumina) หมายถึงสารที่มีส่วนประกอบของอะลูมินาสูง
ได้แก่ คอรันดัม บอกไซท์ กิบไซท์ และไดอะทอไมท์ เป็นต้น
อะลูมินาเป็นสารที่ทนความร้อนได้ถึงอุณหภูมิ 2,050 องศาเซลเซียส
ดังนั้นในการผลิตวัตถุทนไฟ
จึงมักนำเอาสารที่มีส่วนประกอบของอะลูมินามาผสมใช้ทำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
กระบวนการผลิตและเขียนลายเครื่องเบญจรงค์
ในการผลิตจะเริ่มเขียนวนทองเพื่อเป็นเส้นนำลาย
ส่วนในลวดลายที่มีรายละเอียดสูง เช่นลายประเพณีไทย
หรือลวดลายที่เป็นเรื่องราวในวรรณคดี ต้องมีการลอกลาย หรือร่างเส้นบนพื้นผิว
ของขาว ก่อนจะลงลายน้ำทอง หรือตัดเส้นหลักก่อน แล้วเริ่มเขียนลายตามต้องการด้วยน้ำทอง
ทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้ว
จะนำมาลงสีตามลายที่เขียนทองไว้จนครบ การลงสีต้องไม่หนาจนเกินไป
เพราะจะทำให้สีหลุดง่าย และต้องไม่บางจนเกินไป
เพราะจะทำให้สีจางได้ง่ายอความเร็วในการทำงาน การลงสีนี้
อาจจำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือหลายคน หากชิ้นงานมีรายละเอียดมากๆ ต้องมีการจัดแบ่งส่วนในการลงสีกัน
ต่อมาจะทำการเก็บรายละเอียดต่างๆ และวนทองตามส่วนต่างๆ อีกครั้ง เช่น หูแก้ว ขอบโถ
เป็นต้น
ในบางกลุ่มผู้ผลิต อาจมีเทคนิคพิเศษ ด้วยการลงสีพื้น ก่อน
การตัดเส้นหลักและลงสีลาย ทำให้ได้ชิ้นงาน ที่มีความสวยงามแปลกออกไป ส่วนผสมบางอย่างนี้
อาจเป็นส่วนผสมเฉพาะตัวของกลุ่มผู้ผลิตบางกลุ่มเท่านั้น จากนั้น นำเข้าเตาเผา
โดยเผาในอุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเผาประมาณ 4 -5 ชั่วโมง
เมื่อเตาเย็น จึงนำเครื่องเบญจรงค์ออกมา
และวางรอไว้จนอุณหภูมิเย็นลงในอุณหภูมิปกติ
ประเภทเครื่องเบญจรงค์
เครื่องเบญจรงค์หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ เขียนลายโดยลงยาด้วยสีต่างๆ
นอกจากสีหลักทั้ง 5 อันมีสีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว(หรือคราม)
ยังมีสีรองอย่างชมพู ม่วง น้ำตาล แสด มาเสริมสวย
เป็นเครื่องถ้วยที่ต้องใช้ฝีมือสูง ต้องละเอียด ประณีต
จากเครื่องใช้ในรั้วในวังถึงปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ยังได้รับความนิยมโดยเฉพาะในแง่เป็นตัวแทนแสดงความเป็นไทย
(แม้รากฐานจะเป็นของจีนก็ตาม) ลายยอดนิยมคือลายกระหนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม
นรสิงห์
เครื่องเบญจรงค์ลายคราม
ชามลายครามลายกวางดาว
ไหทรงก่วนลายครามลายดอกโบตั๋น จานลายครามลายนกไก่ฟ้า
จานลายครามลายดอกเบญจมาสก้านขด
จานลายครามลายเกล็ดเต่า
ตลับพร้อมฝาลายคราม
เครื่องเบญจรงค์เครือบสีเดียว
คนทีเขียนลายสีดำใต้เคลือบ คนโทเคลือบสีเขียว
ไหเคลือบสองสี
กลุ่มกระปุกเขียนลายสีดำใต้เคลือบ
ไหทรงสูง
คนโทเขียวลายสีดำใต้เคลือบ
เครื่องเบญจรงค์เครือบสองสี
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มชาวบ้าน อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี จำนวน 10 คน และผู้ที่มาซื้อผลิตเครื่องเบญจรงค์จำนวน 10 คน
มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 20 คน
2.เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
-
2.1 แบบสัมภาษณ์
แบบสัมภาษณ์กลุ่มชาวบ้าน
อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
-2.2
แบบสอบถาม
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนตัวทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามแบบมาตราส่วนความสำคัญ 5 ระดับ
5 หมายถึง มากที่สุด
4 หมายถึง มาก
3 หมายถึง ปานกลาง
2 หมายถึง น้อย
1 หมายถึง น้อยที่สุด
3.ขั้นตอนการสร้าง
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งภูมิปัญญาการทำเครื่องเบญจรงค์จากการลงไปสำรวจพื้นที่ที่กลุ่มชาวบ้าน
อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
4.การเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนการผลิตเครื่องเบญจรงค์
และสอบถามความพึ่งพอใจของผู้ที่มา
เก็บรวบรวมคณะผู้จัดทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
5.การวิเคราะห์ข้อมูล
ตีความหมายความเชื่อมโยงและสร้างข้อสรุปโดยทำเป็นรูปแบบของการเฉลี่ยร้อยละ
การตรวจสอบข้อมูล
การตอบคำถามทุกข้อมีความถูกต้องและเป็นข้อเท็จ
ก็ทำการตรวจสอบเนื้อหาว่าพิมพ์ครบถ้วนดี
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.เพศ
2.อายุ
เพศชายจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 50
เพศหญิงจำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 50 ช่วงอายุระหว่าง
10-20 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ช่วงอายุระหว่าง 50-60 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ช่วงอายุอื่นๆ จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0
3.อาชีพ
ทำอาชีพค้าขาย จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30 อาชีพค่าราชการ
5 คน คิดเป็นร้อยละ 50 อาชีพเกษตรกรรม
จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10
อาชีพอื่นๆ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องเบญจรงค์ ตำบลวังน้ำซับ
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น
มีค่าความสูงอยู่ที่ อันดับแรกอยู่ที่ข้อ
3 เครื่องเบญจรงค์มีความสวยงามและประณีต อันดับ 2 คือข้อ 1 คือ
ท่านมีความสนใจในเครื่องเบญจรงค์ และอันดับที่ 3 คือ ข้อ 4 คือ การใช้วัตถุท้องถิ่นมาทำเครื่องเบญจรงค์
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจากแบบสอบถามพบว่า
คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับความงดงามและความปราณีตของเครื่องเบญจรงค์ ดังนี้ทุกฝ่ายควรร่วมมือรวมใจกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยต่อไป
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย
การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมของไทย
ที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งในอดีตนั้นได้สั่งทำจากประเทศจีนต้นกำเนิดจากเครื่องเบญจรงค์
ได้ใช้สีวาดระบายเพียง 3 สี
ต่อมาได้พัฒนาเครื่องเบญจรงค์เป็น 5 สี คือ สีขาว สีเหลือง
สีดำ สีแดงและสีเขียว ดังชื่อว่า เบญจรงค์ ซึ่งหมายถึง
เครื่องเคลือบที่มีการวาดสีลงไป 5 สี
ในสมัยก่อนเครื่องเบญจรงค์ใช้ในราชสำนัก วังเจ้านาย และบ้านขุนนางชั้นสูง
แต่ปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการผลิตและส่งออกไปยังประเทศต่างๆ
อีกมากมาย และคนไทยส่วนใหญ่ให้ความนิยมเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะกลุ่มที่ค่อนข้างมีอายุที่จะซื้อเครื่องเบญจรงค์นั้นเป็นของฝาก
ของตกแต่งบ้าน ของที่ระลึก การที่คนรุ่นหลังหรือแม้กระทั่งกลุ่มของพวกเราได้มีการศึกษาค้นคว้าและตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย
เพื่อเป็นการสืบสานให้อยู่คู่กับคนรุ่นหลังตลอดไป
อภิปรายผล
1.ประวัติความเป็นมา
การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมของไทย
ที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งในอดีตนั้นได้สั่งทำจากประเทศจีนต้นกำเนิดจากเครื่องเบญจรงค์
ได้ใช้สีวาดระบายเพียง 3 สี ต่อมาได้พัฒนาเครื่องเบญจรงค์เป็น 5 สี คือ สีขาว
สีเหลือง สีดำ สีแดงและสีเขียว ดังชื่อว่า เบญจรงค์ ซึ่งหมายถึง
เครื่องเคลือบที่มีการวาดสีลงไป 5 สี ในสมัยก่อนเครื่องเบญจรงค์ใช้ในราชสำนัก วังเจ้านาย
และบ้านขุนนางชั้นสูง แต่ปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
มีการผลิตและส่งออกไปยังประเทศต่างๆ อีกมากมาย
2.วิธีการทำ
วิธีการทำตัวเครื่องเบญจรงค์
1.นำดินขาวมาผสมกับน้ำ
2.นำมาขึ้นรูปตามต้องการแล้วนำไปตากแห้ง
3.นำไปชุบน้ำยาเคลือบ
วิธีการลงลาย
1.เขียนด้วยเข็มสลิงค์
2.เขียนด้วยพู่กัน
3.การลงสี
วิธีการอบ
การอบในเตาควรมีอุณภูมิ 765-780 แล้วอบไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง
จากการแสดงความคิดเห็นในแบบสอบถามเกี่ยวหับเครื่องเบญจรงค์
ปรากฏว่าทัศนคติของผู้ที่เข้ามาซื้อ คือ เครื่องเบญจรงค์มีความสวยงามและมีความประณีต
จากแบบสอบถามจากคนที่ทำเครื่องเบญจรงค์
สรุปได้ว่า
กลุ่มคนที่เครื่องเบญจรงค์นั้นมีความภาคภูมิใจในการทำงานและอยากที่สืบสานวัฒนธรรมไทยต่อไป
จากแบบสัมภาษณ์ผู้ที่มาซื้อเครื่องเบญจรงค์ได้บอกถึงความงดงามและละเอียดลออของเครื่องเบญจรงค์
และซื้อไว้เป็นของฝากและของที่ระลึก
ข้อเสนอแนะ
ควรศึกษาวิจัยเรื่องเครื่องลายครามของบ้านเบญจรงค์สุพรรณบุรี
และการส่งออกเครื่องเบญจรงค์ในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น